Menu Close

7 เทคนิคในการทำสปันจ์เค้ก

7 เทคนิคในการทำสปันจ์เค้ก

สปันจ์เค้ก(Spong cake) คือ?

สปันจ์เค้ก(Spong cake) คือ จัดอยู่ในประเภทเค้กไขมันต่ำ เนื้อเค้กให้ความนุ่ม ฟู เบา ร่วน หลายๆ คนชอบเนื้อเค้กชนิดนี้เพราะนุ่มจนเหมือนละลายในปาก เกิดขึ้นจากการตีไข่ ไข่ไก่เป็นโครงสร้างหลักของเค้กชนิดนี้ ปริมาณของเค้กก็ขึ้นอยู่กับไข่ไก่ที่ใช้

ข้อดีและข้อเสียของสปันจ์เค้ก

ข้อดี

  • เป็นเค้กที่มีไขมันต่ำ เหมาะกับคนที่ควบคุมการรับประทานไขมัน
  • บางชนิด เมื่ออบเสร็จจะหอมกลิ่นไข่ไก่ ช่วยกระตุ้นความหยากสำหรับคนที่ชอบกลิ่นนี้
  • มีเนื้อที่นุ่ม ฟู ซึ่งเป็นสำผัสที่คนไทยชอบ
  • ไม่เลี่ยนน้ำมันเพราะไขมันต่ำ
  • บางชนิด เช่น ขนมไข่ของไทย ไม่ต้องตกแต่งหน้าด้วยครีมเพิ่มเติม ทำให้ต้นทุนน้อยกว่าเค้กเนย(Butter cake)

ข้อเสีย

  • เนื้อแห้งง่าย แต่สามารถแก้ไขด้วยด้วยการพรมน้ำเชื่อม และการพรมน้ำเชื่อมเป็นเคล็ดลับของเค้กบางชนิด ช่วยให้เค้กไม่แห้งและมีกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์ สมัยก่อนครูได้เคล็ดลับการพรมน้ำเชื่อมตอนทำงานอยู่ที่โรงแรม แต่เดี๋ยวนี้เคล็ดลับนี้เป็นที่แพร่หลายแล้วหาได้ตามอินเตอร์เน็ตได้เลย
  • บางท่านไม่ชอบกลิ่นคาวไข่ในเค้กบางชนิด สามารถแก้ไขได้โดยการคัดเลือกไข่ไก่ที่สดใหม่ หรือบางสูตรอาจเพิ่มกลิ่นเช่นกลิ่นวานิลาลงในสูตรเพื่อกลบกลิ่นคาวของไข่

ตอนนี้ทรายจะมาสรุปเทคนิคที่เราต้องรู้ในการทำสปันจ์เค้ก 7 เทคนิคด้วยกัน ทั้งนี้ทรายต้องบอกก่อนว่า หลักการพื้นฐานที่ทรายเล่ามานี้จะช่วยให้ทุกคนที่กำลังฝึกหัดทำขนม ให้ได้ทำความรู้จักกับพื้นฐานที่เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายด้วยตัวเองก่อน สำหรับทรายคิดว่าสำคัญนะคะ เนื่องจากถ้าเราลงมือทำขนมก็จริง แต่ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นทำให้เราต้องมานั่งหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร

แต่การที่เรามีข้อมูลพื้นฐานในการทำขนมแบบนี้ จะช่วยเราให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุเบื้องต้นก่อนได้ นั่นคือวิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากนะคะ ทรายอยากจะฝากถึงทุกคนที่หัดทำขนม เป็นกำลังใจให้นะคะ ยิ่งฝึกทำบ่อย ๆ เราเก่งแน่นอน ตอนนี้ให้เรามาดูว่ามีเทคนิคอะไรบ้างกันนะคะ?

เทคนิคที่ 1 วิธีการใช้ไข่ไก่

  • การทำสปันจ์เค้กซึ่งมีส่วนผสมของไข่ไก่เป็นโครงสร้างของเค้ก วิธีการใช้ไข่ไก่ในการทำสปันจ์เค้กนั้น ถ้าเราใช้ไข่ไก่ที่แช่เย็นก็ให้นำออกมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง ก่อนนำไปใช้งาน 30 นาที และควรใช้ไข่ไก่ที่สด จะช่วยให้ส่วนผสมตีขึ้นฟู และมีปริมาตรที่ดี

เทคนิคที่ 2 ขั้นตอนการผสม

  • ไม่ควรจะผสมแรง หรือผสมนานเกินไป แต่ว่าเราต้องทำอย่างรวดเร็ว และนำเข้าอบทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานส่วนผสมยุบตัวได้ แม้ว่าเราจะใช้สารเสริม SP ก็จริงแต่หลังจากตีส่วนผสมเสร็จแล้วก็ควรนำเข้าเตาอบเลยจะดีกว่า สุดท้ายถ้าเราทิ้งไว้นานตามที่ทรายเคยได้ยินมาว่า สามารถวางทิ้งไว้ก่อนนำเข้าเตาอบได้ 30 นาทีก่อนนำเข้า ซึ่งถ้าเราไม่ได้ทำเป็นสายอุตสาหกรรม ก็นำเข้าอบเลยจะดีกว่าค่ะ
  • นอกจากป้องกันเรื่องการยุบตัวของส่วนผสมแล้ว ก็ยังช่วยให้เนื้อเค้กไม่แน่นหลังอบได้ด้วย ทั้งนี้อย่างที่ทรายบอกต้องทำหลาย ๆ องค์ประกอบรวมกัน คือ ไม่ผสมนานเกินไป และต้องทำด้วยความรวดเร็ว

เทคนิคที่ 3 การตีไข่ไก่กับน้ำตาล

  • การตีไข่ไก่กับน้ำตาลให้ได้ที่ เราสังเกตได้จากสีจะอ่อนลง และหากเราตีส่วนผสมไม่ได้ที่ ไม่ใช่แค่เกี่ยวกับขั้นตอนการใส่เนยละลาย ขั้นตอนนี้ก็สามารถทำให้เค้กของเราเป็นไตได้เช่นกัน ทำให้เนื้อเค้กไม่นุ่ม และถ้าเราทำเค้กโรล เค้กก็อาจจะม้วนไม่ได้ อุณหภูมิที่ผสมก็เกี่ยวข้องด้วยอย่างที่บอกในข้อแรก ไข่ไก่ต้องทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง หากใช้ไข่ไก่ที่แช่เย็น การผสมส่วนผสมในอุณหภูมิอุ่น จะช่วยให้โครงสร้างของไข่ไก่ขยายตัวได้ดี

เทคนิคที่ 4 การใช้เนย

  • ขั้นตอนการเติมเนยละลาย ก็จะคล้ายกับข้อที่แล้วถ้าใส่เนยละลายที่ร้อนเกินไป ส่วนผสมยุบตัว และถ้าเนยละลายเย็นไปส่วนผสมจะเข้ากันยาก จะทำให้ส่วนผสมนอนก้น เกิดเป็นไตได้ ดังนั้น เนยละลายจะต้องอุ่นกำลังดี เทคนิคแบบทั่วไปเลย คือใช้นิ้วจุ่มลงไป ถ้าเราทนได้แสดงว่าเนยอุ่นกำลังดี แต่ถ้าอยากให้เป็นมาตรฐานก็อาจจะใช้เทอร์โมมิเตอร์ แต่สไตล์ทำกินเองที่บ้านทรายก็ใช้วิธีการอย่างง่ายแทนนะคะ

เทคนิคที่ 5 การไล่ฟองอากาศ

  • ในช่วงโค้งสุดท้ายหลังจากใส่เนยละลายหมดแล้ว เราเช็คส่วนผสมทั้งหมดอย่างดีแล้วให้เปลี่ยนระดับความเร็วปานกลางเกือบสูง โดยการลดความเร็วลงมาต่ำสุดแล้วตีส่วนผสมอีกแค่ไม่ถึง 1 นาที ก็จะช่วยให้เนื้อเค้กของเราเนียนสวย

เทคนิคที่ 6 การเตรียมพิมพ์อบ

  • เราจะไม่ทาเนยตรงบริเวณขอบพิมพ์ ซึ่งเนื้อเค้กที่มีไข่ไก่เป็นโครงสร้างหลัก จำเป็นที่จะต้องใช้ขอบถาดในการขึ้นฟู ถ้าเราทาเนยทั้งหมด เนยจะเคลือบเนื้อเค้กทำให้ขึ้นฟูได้ไม่ดี เนื้อเค้กที่ได้ก็จะแบน

เทคนิคที่ 7 การเคลื่อนย้ายเค้ก

  • เตือนทุกครั้งสำหรับการเคลื่อนย้ายเค้กระหว่างที่กำลังอบเค้ก มีความเสี่ยงมากที่จะทำให้เค้กยุบตัว เนื่องจากอุณหภูมิในเตาอบเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ เพราะอากาศข้างนอกเข้าไปเตาอบ และที่สำคัญการเตรียมเตาอบไว้ล่วงหน้า จะช่วยเราให้อบเค้กได้ฟูสวยมากขึ้น เพราะอุณหภูมินั้นคงที่ก็ทำให้เราอบเค้กไปได้สวยงามแบบที่เราต้องการ

สำหรับบทความในตอนนี้กับ 7 เทคนิคสำคัญที่ทรายได้ค้นคว้ามาแล้วมาสรุปให้กับทุกคน ลองนำไปทำดูนะคะ เราเองต้องลงมือฝึกฝนการทำด้วย เพราะนั่นจะทำให้เรามีทักษะเพิ่มขึ้น และไม่ใช่แค่นั้นเราจะมีเทคนิคที่เป็นแบบของเราเองด้วย เพราะเกิดจากการเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตัวเองที่เกิดขึ้นค่ะ และถ้าทุกคนชอบเนื้อหาแบบนี้และประโยชน์กับตัวทุกคนเองด้วย

ติดตาม wares sine the series of cake ในตอนหน้าอีกครั้งค่ะ หรืออัพเดตรายการใหม่ ๆ ได้ที่ช่องทาง YouTube ได้ทุกวันพุธตั้งแต่เวลา 18.17 น.เป็นต้นไป และติดตามไอเท็มวัตถุดิบและอุปกรณ์เบเกอรี่ได้ที่ Facebook สำหรับใครที่สนใจเรียนทำเค้ก หรือขนมอบสไตล์โฮมเมด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คอร์สเรียน ได้เลยค่ะ

Related Posts

Leave a Reply